ว่าด้วยคำว่า “อาบัง”

คำว่า “บัง” นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า “อาบัง” (Abang) ในภาษามลายู มีความหมายว่า พี่, พี่ชาย (ไม่ใช่น้องของพ่อที่ชื่อบังนะครับ) ซึ่งคนในสังคมไทยเข้าใจคำดังกล่าวด้วยการเจาะจงใช้กับบุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นแขกและมุสลิม (บุคคลหรือกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม) ...

อาบัง ถูกใช้เรียกพ่อค้าขายโรตีที่มีอยู่มากในสังคมไทย ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อพยพถิ่นฐานหรือพำนักอยู่ในไทยอย่างถูกกฎหมาย โดยส่วนมากแล้วจะเป็นชาวบังคลาเทศ, พม่า, ปากีสถาน และอินเดีย

อนึ่งในทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะนิยมใช้คำว่า อาแบ แทนคำว่า อาบัง อาจเรียกสั้นๆ ว่า “แบ” ซึ่งสองคำดังกล่าวมีความหมายเดียวกัน

นอกจากนั้นแล้ว “บัง” ถูกเจาะจงใช้เฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น บิ๊กบัง (พล. อ. สนธิ บุญรัตกลิน) ขออนุญาตเอ่ยนาม, บังหมัด, บังดุล, บังเลาะห์, บังโส๊ะ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำว่า “บัง” ก็มีระดับขั้นความสำคัญในฐานะเป็นบุคคลที่อาวุโสในทางวัยวุฒิ แต่คำดังกล่าวก็ยังมีนัยยะแอบแฝงในเชิงเหยียดสัญชาติอยู่ด้วย ...

iMron - เขียน
ผมชอบให้สาวๆ เรียกผมว่า “พี่บัง”


Posted on Tuesday, May 29, 2018 by poodarab

No comments

ชื่อภาพ: Old Quarter love
สถานที่ถ่าย: เขตเมือง Old Quarter Hanoi, Vietnam


บรรยายภาพ:  
ภาพคุณตากำลังฟังคุณยายอ่านหนังสือในคูหาบ้านชั้นเดียว โดยหน้าบ้านเป็นร้านโชห่วยเล็กๆ ใกล้กับร้านขายของขนาดกลางที่เต็มไปด้วยลูกค้ากำลังเลือกสรรสินค้าอยู่ภายในร้าน ถึงแม้ว่าชีวิตในเมืองอาจดูวุ่นวาย แต่ก็ยังมีมุมน่ารักให้ได้เห็นอยู่ การกดชัตเตอร์ขณะที่ม่านตาผมได้ประกบกับช่องวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง mirorless ทำให้ผมสัมผัสได้ถึงความรักของตายายคู่นี้ได้ดี จนบอกไม่ถูก


Imron - นักถ่าย



Posted on Tuesday, May 29, 2018 by poodarab

No comments

การเดินทางจากฮานอยถึงที่หมาย “เมืองซาปา” ใช้เวลา 6 ชม. โดยการโดยสารรถนอน หรือที่เรียกว่า กรีนบัส 30 กว่าที่นอน ในรถมีบริการนำดื่มฟรี Free Wifi และ USB Mobile Charging ในระหว่างทางที่คุณเอนตัวลงนอนบนเบาะนุ่มๆ คุณจะได้เจอกับภูเขา ท้องทุ่ง เกษตรกร ชาวนา และทุ่งนาสีเขียวอยู่เป็นระยะทั้งสองข้างทาง ทำให้ชวนคลายสายตาจากแสงสีฟ้าบนหน้าจอโทรศัพท์ได้ไปพร้อมกับการอุดหูฟังเพลง อ่านหนังสือชิวล์ไปตลอดทาง



เมื่อมาถึงเมืองซาปา ภาพแรกที่ได้เห็นนั่นก็คือ ภาพเมืองที่กำลังพัฒนาอย่างรุดหน้า ในเมืองมีสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น โบสถ์ซาปา (Sapa Cathedral ) คอนแวนต์ (Convent) จัตุรัสใจกลางเมือง รวมถึงโรงแรมที่พักและร้านรวงต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ผู้คนที่นี่ดูเป็นมิตร โดยเฉพาะชาวเขาอาชีพหาบเร่ที่อยู่ร่วมกับคนเมืองได้อย่างกลมเกลียว


ระหว่างเดินทางไปยังหมู่บ้านชาวเขากลางหุบเขา ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองซาปากว่า 13 กิโล ด้วยการเดินเท้าเข้าไปยังโฮมสเตย์ที่พัก นายตวน ซึ่งเป็นไกด์ชาวเขาเผ่าม้งนำทางเราลัดเลาะหุบเขาน้อยใหญ่ตามภูมิประเทศทั่วไปของเมืองนี้ ...
เราเดินไปคุยไปอย่างสนุกสนานเป็นกันเองมาก ผมถือโอกาสชวยพูดคุยถึงเรื่องราวของชาวเขาเผ่าม้ง หนึ่งในชาวเขาได้เล่าถึงวิถีชีวิตของพวกเขาเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างน่าฉงนด้วยการพูดภาษาได้ในระดับดีใช่ได้เลยทีเดียว ชาวเขาคนหนึ่งเล่ากับผมว่า ...

“ฉันต้องเดินเท้ากว่า 10 กิโลเกือบทุกวัน เพื่อนำสินค้าจำพวกกระเป๋าถักทอ เสื้อผ้า และเครื่องประดับมาจำหน่ายในตัวเมือง เพื่อหาเลี้ยงดูครอบครัว เป็นเช่นนี้มาแล้วกว่า 40 ปี” เธอมีลูก 3 คนอยู่ด้วยกันในครอบครัวในหมู่บ้านกั๊กกั๊กกลางหุบเขา ...


เราเดินไปได้สัก 8 กม. ก็ถึงจุดพักที่ 1 ชาวเขาสามคนที่เดินร่วมทางกันมากับเรา ได้มอบหญ้ารูปม้าให้กับผมและเพื่อนๆ (ดูรูปด้านล่าง) ทุกคนต่างเซอร์ไพรในหัตถกรรมอย่างง่ายนี้ มันแฝงไปด้วยมิตรภาพที่ดีต่อกันระหว่างเส้นทางเดินไปสู่หมู่ชาวเขากลางหุบเขาของพวกเขา ...


"A journey is best measured in friends, rather than miles."
ทริปนี้ทำให้ผมรู้ว่า - “จำนวนเพื่อนวัดคุณค่าของการเดินทางได้ดีกว่าจำนวนระยะทาง”

ขอบคุณเพื่อนร่วมเดินทางนายตวน ไกด์นำทาง, 3 สาวชาวเขา, Rochead Budiah & Quirine de Jong

























Posted on Thursday, April 12, 2018 by poodarab

No comments