บทนำก่อนเข้าเรื่อง
ผลัดถิ่นมาศึกษาอยู่ดินแดนปัตตานี ดารุสสลาม
หรือที่ใครเค้ารู้จักกันในนาม “ลังกาสุกะ” มาเกือบ 4 ปีเต็ม แต่เมื่อถามตัวเองถึงสัญลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดปัตตานี จำต้องนึกถึงมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีที่เป็นจุดศูนย์รวมของอิสลามมิกชนในพื้นที่ และหากถามตัวเองว่ารู้จักกับมัสยิดแห่งนี้มากน้อยเพียงใด ? กลับต้องตอบกับตัวเองว่า มีความรู้น้อยมากๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมัสยิดแห่งนี้
หากเปรียบเทียบก้อเท่าหางอึ่งกันเลยทีเดียว ...
กระผมจึงอยากที่จะหวนสู่วันวานของสถานที่แห่งนี้ด้วยการเริ่มต้นสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และแล้วก็ได้พบกับข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์หนึ่ง คือเว็บไซต์วารสารรูสะมิแล http://curriculum.pn.psu.ac.th/roosmilae แหล่งรวบรวมบทความจากวารสารชื่อดังมากมายเกี่ยวกับชายแดนใต้ บทความดังกล่าวชื่อว่า “มัสยิดกลางปัตตานี” เขียนโดย ดร.พิเชฐ แสงทอง ซึ่งเรียบเรียงไว้อย่างน่าสนใจถึงประวัติความเป็นมาของมัสยิดกลางปัตตานี ว่าแล้วเรามาร่วมย้อนความหลังเมื่อครั้นวันวานของมัสยิดแห่งนี้กันเลยดีกว่าครับ...
กระผมจึงอยากที่จะหวนสู่วันวานของสถานที่แห่งนี้ด้วยการเริ่มต้นสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และแล้วก็ได้พบกับข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์หนึ่ง คือเว็บไซต์วารสารรูสะมิแล http://curriculum.pn.psu.ac.th/roosmilae แหล่งรวบรวมบทความจากวารสารชื่อดังมากมายเกี่ยวกับชายแดนใต้ บทความดังกล่าวชื่อว่า “มัสยิดกลางปัตตานี” เขียนโดย ดร.พิเชฐ แสงทอง ซึ่งเรียบเรียงไว้อย่างน่าสนใจถึงประวัติความเป็นมาของมัสยิดกลางปัตตานี ว่าแล้วเรามาร่วมย้อนความหลังเมื่อครั้นวันวานของมัสยิดแห่งนี้กันเลยดีกว่าครับ...
เรื่องมีอยู่ว่า...
ในปีพุทธศักราช 2497 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัด
อันจะนำมาซึ่งสันติสุขประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณ
สำหรับการก่อสร้างมัสยิดกลางปัตตานีขึ้นโดย ฯพณฯ
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เวลา 10.00 น.
มัสยิดกลางแห่งนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารเป็ เวลา 9 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เดิน ทางมาประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
และมอบมัสยิดแห่งนี้ให้แก่ชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี โดยให้ตั้งชื่อว่า “มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี” มัสยิดกลางปัตตานีนับว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมผสานกับแบบสถาปัตยกรรมอินเดีย สร้างเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น
ตั้งอยู่บนฐานรูปทรงคล้ายกับ “ทัชมาฮาล” ในอินเดีย ตรงกลางเป็นอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่ และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้างสูงเด่นเป็นสง่าบริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่
ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถงมีระเบียงสองข้าง ภายในห้องโถงมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบเป็นที่สำหรับ “คอฏีบ” ยืนอ่านคุฏบะฮ์ในการละหมาดวันศุกร์
หอคอยสองข้างนี้เดิมใช้เป็นหอกลางสำหรับตีกลองเป็นสัญญาณเรียกให้มุสลิมมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจ ต่อมาใช้เป็นที่ติดตั้งลำโพงเครื่องขยายเสียงแทนเสียงกลอง ปัจจุบันขยายด้านข้างออกไปทั้ง 2 ข้างและสร้างหออะซาน พร้อมขยายสระน้ำและที่อาบน้ำละหมาดให้ดูสง่างามยิ่งขึ้น ภายในมัสยิดประดับด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม
มัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ (ละหมาด) วันละ 5
เวลาเป็นกิจวัตรประจำวันใช้ในการละหมาดวันศุกร์ และการละหมาดในวันตรุษต่างๆ
โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ ปัตตานี และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ
โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้ เข้าฟังการบรรยาย
ประมาณครั้งละ 3,000 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนาและเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ
ข้อมูลจาก http://bit.ly/YQ6DWr
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment