ค่ำของวันนี้...ได้มีโอกาสฟังและได้รู้จักกับบทเพลงอาหรับเพลงหนึ่ง  ซึ่งมีชื่อเพลงว่า "ญา อัลมัยดาน" (ياالميدان) เป็นเพลงที่ไพเราะที่แฝงไปด้วยความภาคภูมิ และความระลึกถึง  ถึงแม้ผมจะฟังเนื้อหาของเพลงไม่เขาใจทุกวรรค ทุกประโยค เเต่พอเข้าใจถึงสิ่งที่เพลงและนักร้องต้องการสื่อได้ พร้อมกับการชมมิวสิคเพลงประกอบ ก็ยิ่งได้อรรถรส... ยิ่งได้ฟังหลายๆ รอบ  บวกกับเดิมเคยติดตามสถานการณ์การเมืองในอียิปต์ทำให้ผมได้รู้จักกับเพลงนี้ไปโดยปริยาย  เพราะชื่อเพลงคือ ชื่อสถานที่ที่ประชาชนชาวอียิปต์ใช้รวมตัวกันลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยจากผู้นำทรราช  ขาดความยุติธรรม  สถานที่แห่งนี้ ก็คือ  จัตุรัสตะห์รีร หรือทาร์รีร์ (Tahrir Square; หมายถึง "จัตุรัสการปลดปล่อย")


Tahrir Square หลังการปฏิวัต 1952

ผมจะขอกล่าวถึงกันสักนิด  "จัตุรัสแห่งนี้เป็นที่สาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เดิมจัตุรัสถูกเรียกว่า "มัยดานอิสมาอีลียะห์" (ميدان الإسماعيلية) หลังจากผู้ปกครองสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อิสมาอิล ปาชา ผู้ซึ่งมอบหมายให้ก่อสร้างรูปแบบ "กรุงปารีสริมฝั่งแม่น้ำไนล์" ขึ้นเป็นเขตใหม่ของเมือง ภายหลังการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1919 จัตุรัสดังกล่าวได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า จัตุรัสทาห์รีร์ (การปลดปล่อย) แต่จัตุรัสยังไม่ได้ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการจนกระทั่งการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 ซึ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาเป็นสาธารณรัฐ ..."


จัตุรัสตะห์รีรปัจจุบัน

ภาพประกอบจาก http://egypthistory.net


... เพลงๆที่่ว่าอยู่นี่ครับ ...

 

และหลังจากได้ฟังเพลงนี้เเล้วจึงเกิดแรวบันดาลใจใฝ่รู้  จึงได้ไปเสาะหาหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัติอียิปต์  และได้พบกับหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมากในงานมหกรรมหนังสือที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยลัย นั่นก็คือ หนังสือ ปฏิวัติ 2.0 (REVOLUTION 2.0) ที่เเต่งโดย WAEL GHONIM  ผ่านการแปลของ โตมร ศุขปรีชา นักเขียน, นักแปล  ได้ดูเเละได้อ่านคำนำ/หน้าปก ทำให้เกิดความสนใจในเนื้อหาด้านในกันเลยทีเดียว...จึงตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วยราคาหักลด 10 % เเต่ช่วงนี้ใกล้เวลาสอบเเล้ว จึงไม่อาจอ่านังสือเล่มนี้ได้อย่างตั้งใจ เดี่ยวถ้าอ่านเสร็จยังงัย  จะมาเล่าสู่กันฟังนะครับ สัญญา !! 


ข้อความหน้า-หลังปก



"บันทึกเรื่องราวของคลื่นปฏิวัติ เพื่อประชาธิปไจยในโลกอาหรับ (Arab Spring) ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้จุดประกายการปฏิวัติผ่านโลกไซเบอร์ด้วยพลังของเฟชบุ๊ค" ไตเติ้ลบนภาพปก

 "การปฏิวัติในอดีตมักจะมีผู้นำมากบารมี ผู้เข้าใจการเมืองอย่างลึดซึ้ง และบางครั้งก็เป็นอัจฉริยะทางการทหาร การปฏิวัติเช่นนั้นเราอาจเรียกว่า การปฎิวัติในรูปแบบ 1.0 แต่การปฎิวัติในอียิปต์ต่างออกไปมันคือการเคลื่อนไหวที่เกิดจากปัญญาของมวลชน โดยปราศจากผู้นำอย่างแท้จริง นี่คือรูปแบบการปฏิวัติ 2.0 การปฏิวัติที่ไม่มีใครเป็นวีรบุรุษ ... เพราะทุกๆ คนคือ วีรบุรุษ" วาเอล โกนิม (หลังปก)

 "การปฏิวัติใดๆ ล้วนเป็นเพียงหยดน้ำหนึ่งในกระแสธารแห่งเหตุปัจจัยทั้งนั้นเพียงเเค่หยดน้ำประวัติศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้พิเศษกว่าหยดอื่นๆ ตรงที่มันคือโฉมหน้าใหม่ของการปฏิวัติโลก เมื่อผู้เขียนได้ปฏิวัติการปฏิวัติ" โตมล ศุขปรีชา (หลังปก)