วันนี้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือศาสนาเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการอ่าน แค่ได้อ่านคำนำผู้แปลเสร็จ จึงทำให้ตัวเองต้องหวนมาแลมองพฤติกรรมการอ่านของตัวเอง ... เเต่ก่อนพิจารณาตัวเอง ก็อยากที่จะทราบถึงเรื่องของพฤติกรรมการอ่านของคนไทยขึ้นมา เอ่อ !!??... ที่ว่าคนไทยอ่านหังสือปีละไม่เกิน 6 บรรทัด มันจริงรึปป่าว ?? จึงลองเข้าไปเสิร์ชๆๆ ดูในกูเกิลเพื่อพิสูจน์ความจริง ก็ได้พบกับผลวิจัยที่น่าสนใจ ...
สำรวจสถานการณ์การอ่านของคนไทย
ปี 2548 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ไม่อ่านหนังสือถึง 22.4 ล้านคนหรือเกือบ 40% ของประชากรทั้งประเทศ ด้วยเหตุผล
1. ชอบดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุมากกว่า
2. เด็กอายุ 10 -14 ปี กว่า 60% ให้เหตุผลในการไม่อ่านหนังสือว่า เพราะไม่ชอบ และไม่สนใจ
ส่งผลให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเฉลี่ยเพียงปีละ 2 เล่ม ซึ่งนับว่าต่ำมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. สิงคโปร์ มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 40 – 50 เล่ม
2. เวียตนาม มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 60 เล่ม
1. ชอบดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุมากกว่า
2. เด็กอายุ 10 -14 ปี กว่า 60% ให้เหตุผลในการไม่อ่านหนังสือว่า เพราะไม่ชอบ และไม่สนใจ
ส่งผลให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเฉลี่ยเพียงปีละ 2 เล่ม ซึ่งนับว่าต่ำมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. สิงคโปร์ มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 40 – 50 เล่ม
2. เวียตนาม มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 60 เล่ม
สถิติการอานหนังสือของคนไทย ปี 2551
สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจเรื่อง การอ่านหนังสือของคนไทย พบว่าคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไปอ่านหนังสือ (ที่ไม่ใช่หนังสือเรียนหรือเพื่องาน) 66.3%
ประเภทหนังสือที่อ่านมากที่สุด คือ
1. หนังสือพิมพ์ 71 % (ใกล้เคียงกับประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ 77.3)
2. นิยาย / การ์ตูน 38.8 %
3. นิตยสาร 35.4 %
1. หนังสือพิมพ์ 71 % (ใกล้เคียงกับประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ 77.3)
2. นิยาย / การ์ตูน 38.8 %
3. นิตยสาร 35.4 %
แยกกลุ่มตามวัยพบว่า
1. กลุ่มวัยเด็กอ่าน 81.5 %
2. กลุ่มเยาวชนอ่าน 78.6%
3. กลุ่มทำงาน 64.3%
4. กลุ่มผู้สูงอายุ 39.3%
แยกตามเพศพบว่า
1. ชายอ่าน 67.5%
2. หญิงอ่าน 65.1%
ในกลุ่มเด็กเล็กพบว่า
1. เด็ก กทม. อ่านมากที่สุด คือ 45.3 %
2. เด็กอีสานอ่านน้อยที่สุด 31.3 %
อย่างไรก็ตามคนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือน้อยลงเฉลี่ย 51 นาทีต่อวัน ในปี 2548 เหลือ 39 นาทีต่อวัน ในปี 2551 มีกลุ่มเยาวชนอ่านหนังสือมากที่สุด 46 นาทีต่อวัน
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติเเห่งชาติ (สสช.)
พฤติกรรมการอ่านของคนไทยปี 2552
ในปี 2552 ประชาชนซื้อหนังสืออ่าน (ไม่รวมหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือวารสาร) ร้อยละ 70.70 และไม่ซื้อ ร้อยละ 29.30 หากซื้อหนังสือจะซื้อหนังสือที่ให้ความรู้ เช่น ประวัติสาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ร้อยละ 15.98 ,หนังสือการ์ตูน ร้อยละ 15.94 นิยายวัยใสร้อยละ 14.29 ,หนังสือประเภท how to ร้อยละ 13.91 ,หนังสือที่เขียนโดยคนดังร้อยละ 9.95 ,หนังสือธรรมะ ร้อยละ 9.15 ,หนังสือเด็กและเยาวชน ร้อยละ 7.69 ,หนังสือดวงชะตา ร้อยละ 6.60 ,หนังสือบุญกรรม ร้อยละ 594 และหนังสืออื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.57
ในปี 2552 ประชาชนซื้อหนังสืออ่าน (ไม่รวมหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือวารสาร) ร้อยละ 70.70 และไม่ซื้อ ร้อยละ 29.30 หากซื้อหนังสือจะซื้อหนังสือที่ให้ความรู้ เช่น ประวัติสาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ร้อยละ 15.98 ,หนังสือการ์ตูน ร้อยละ 15.94 นิยายวัยใสร้อยละ 14.29 ,หนังสือประเภท how to ร้อยละ 13.91 ,หนังสือที่เขียนโดยคนดังร้อยละ 9.95 ,หนังสือธรรมะ ร้อยละ 9.15 ,หนังสือเด็กและเยาวชน ร้อยละ 7.69 ,หนังสือดวงชะตา ร้อยละ 6.60 ,หนังสือบุญกรรม ร้อยละ 594 และหนังสืออื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.57
เหตุผลที่ประชาชนไม่ซื้อหนังสืออ่าน
หาอ่านได้จากห้องสมุดหรือแหล่งอื่นได้จึงไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 22.64 ,ไม่มีเวลาซื้อ ร้อยละ 21.62 ,ราคาแพง ร้อยละ 17.97 ,ไม่ชอบอ่าน ร้อยละ 14.33 ,ไม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ร้อยละ 13.31 ,หนังสือส่วนใหญ่ไม่มีคุณภาพ ร้อยละ 5.01 ,เหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 2.62 และอ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 2.50
หาอ่านได้จากห้องสมุดหรือแหล่งอื่นได้จึงไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 22.64 ,ไม่มีเวลาซื้อ ร้อยละ 21.62 ,ราคาแพง ร้อยละ 17.97 ,ไม่ชอบอ่าน ร้อยละ 14.33 ,ไม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ร้อยละ 13.31 ,หนังสือส่วนใหญ่ไม่มีคุณภาพ ร้อยละ 5.01 ,เหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 2.62 และอ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 2.50
ที่มา : ศรีปทุมโพล โดย ดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปี 2552
บทความที่ว่า ...
"
.
.
.
.
คำสั่งแรกที่อัลลอฮฺ ใช้ให้มนุษย์ปฏิบัติคือ การอ่าน, ถูกบัญญัติก่อนการละหมาด, การถือศีลอด, การจ่ายซะกาต, การสั่งใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามความชั่ว, และก่อนทุกๆ คำสั่งจะปรากฏในอัลกุรอาน การอ่านถือว่าเป็นคำสั่งแรก
ญิบรีลสอนให้นบีอ่านก่อนท่านนบีจะรูว่าผู้สอนคือ “ญิบรีล”
ก่อนที่ท่านนบีจะรู้ว่าสิ่งที่อ่านคือ “อัลกุรอาน”
ก่อนที่ท่านนบีจะรู้ว่าสิ่งนั้นมาจาก “อัลลอฮฺ”
และก่อนที่ท่านจะรู้ว่าตนเองกำลังจะเป็น “นบี”
การอ่านจึงไม่ใช่กิจกรรมธรรมดาอีกต่อไปนับแต่โองการ “จงอ่าน” ถูกประทานลงมาจากฟากฟ้า
.
.
.
.
.
”